“หุ้นยั่งยืน” เสน่ห์ตลาดทุนไทย-ดึงดูดเงินลงทุนไหลเข้า

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ความยั่งยืน” กลายเป็นกระแสหลัก หรือ Mega Trend ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น

รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากโครงการลงทุนหรือพฤติการณ์ของภาคธุรกิจเอง ซึ่งหลายครั้งไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลเชิงลบต่อธรรมชาติ แต่ก่อให้เกิดผลเชิงลบต่อภาวะเศรษฐกิจด้วย

สำหรับการลงทุน กระแสการลงทุนในธุรกิจที่มีความยั่งยืนสูง ทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) รายงานสถานการณ์กองทุนหุ้นยั่งยืนทั่วโลกรอบไตรมาส 4 ปี 2564

โดยพบว่ามูลค่าทรัพย์สินรวมเติบโตแตะ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 87 ล้านล้านบาท เติบโต 9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2564 และเติบโต 53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินไหลเข้าสุทธิกว่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.5 ล้านล้านบาท

ขณะที่ประเทศไทย ข้อมูลกองทุนยั่งยืนล่าสุดในเดือน ม.ค.2565 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 75 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินรวมราว 6 หมื่นล้านบาท ลดลงจาก ณ สิ้นปี 2564 จากเงินไหลออกราว 500 ล้านบาท ภายหลังผลตอบแทนจากการลงทุนติดลบตามความผันผวนของตลาดหุ้นโลกในช่วงเดือนดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า พัฒนาการด้าน ESG ของบริษัทไทยถือว่าโดดเด่น (Outperform) เมื่อเทียบกับภูมิภาคและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งถือว่ามาได้ถูกจังหวะ เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ด้านการลงทุนในปี 2565 ที่กระแสเงินลงทุน (ฟันด์โฟลว์) ต่างชาติ จะให้ความสำคัญกับความเสี่ยงมากกว่าผลตอบแทน

ทั้งนี้ เพราะผลของต้นทุนทางการเงินที่เร่งตัวขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย และมูลค่า (Valuation) ของสินทรัยพ์หลายประเภทที่ตึงตัว จึงมองว่าธีมลงทุน ESG จะส่งผลบวกต่อตลาดทุนไทยใน 4 ประเด็นคือ

1. หนุนให้กระแสเงินลงทุนด้าน ESG ไหลเข้าต่อเนื่อง จากเสน่ห์ด้านจำนวนบริษัท ESG ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคและกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง

2. ช่วยลดความเสี่ยงจากส่วนเพิ่มของผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Risk Premium) ให้กับตลาดทุนโดยภาพรวม เพราะค่าชดเชยความเสี่ยงของ 40 บริษัทจะลดลง (ไม่นับไทยเบฟเวอเรจ) ซึ่งล้วนเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากต่อการคำนวณดัชนี

3. กระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนใส่ใจด้าน ESG มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจและความผันผวนของราคาหุ้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนประสิทธิภาพของตลาดทุนในระยะยาว

4. นักวิเคราะห์และนักลงทุนจะเริ่มให้น้ำหนักกับตัวแปรด้าน ESG ในโมเดลประเมินมูลค่า (Valuation Model) ส่งผลให้หุ้นที่ได้คะแนนด้าน ESG ในระดับสูง จะเคลื่อนไหว Outperform กลุ่มหรือหุ้นที่ไม่มี ESG อย่างชัดเจน

สำหรับการลงทุนหุ้น ESG อ้างอิงจาก S&P Global ที่ประกาศอันดับด้านความมั่นคง (S&P Global Sustainability Awards) ปี 2565 และนำมาประกอบกับธีมการลงทุนของฝ่ายวิจัยในปีนี้ที่เน้น 1. Valuation ยังไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวเองในอดีตและตลาด 2. มีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย

3. มีเงินปันผลมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดที่ประมาณ 2% ต่อปี 4. ผลประกอบการปี 2565 ฟื้นตัวชัดเจนหรือยังมีการเติบโตต่อเนื่องจากปี 2564 และ 5. เป็นหุ้นที่ต่างชาติยังซื้อคืนไม่ถึงช่วงก่อนโควิด-19 (Pre-Covid) เมื่อพิจารณาจากบัญชี NVDR

จะได้การลงทุนดังนี้

ระดับ Gold Class – BANPU CPALL

ระดับ Silver Class – SCC HMPRO PTT

ระดับ Bronze Class – AOT

ระดับ Member – BBL TTB BDMS

อ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/business

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ความยั่งยืน” กลายเป็นกระแสหลัก หรือ Mega Trend ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากโครงการลงทุนหรือพฤติการณ์ของภาคธุรกิจเอง ซึ่งหลายครั้งไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลเชิงลบต่อธรรมชาติ แต่ก่อให้เกิดผลเชิงลบต่อภาวะเศรษฐกิจด้วย สำหรับการลงทุน กระแสการลงทุนในธุรกิจที่มีความยั่งยืนสูง ทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) รายงานสถานการณ์กองทุนหุ้นยั่งยืนทั่วโลกรอบไตรมาส 4 ปี 2564 โดยพบว่ามูลค่าทรัพย์สินรวมเติบโตแตะ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 87 ล้านล้านบาท เติบโต 9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2564 และเติบโต 53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินไหลเข้าสุทธิกว่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ประเทศไทย ข้อมูลกองทุนยั่งยืนล่าสุดในเดือน ม.ค.2565 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 75 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินรวมราว 6…