ผู้ถือหุ้นใหญ่ JDF ย้ำไม่มีแผนขายหุ้นออกมาเพิ่ม หลังทำ Big Lot บนกระดานเทรด 11 ล้านหุ้น ที่ราคา IPO 2.60 บาท ให้กรรมการ-ผู้บริหาร สร้างแรงจูงใจ หนุนองค์กรแข็งแกร่ง บริษัท เจดีฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ JDF สร้างความแข็งแกร่งให้โครงสร้างองค์กร “เติบโตไปพร้อมกัน” ณ วันที่ JDF นำหลักทรัพย์เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท นำโดย นายธีรบุล หอสัจจกุล กรรมการบริหาร และ น.ส.รัตนา เอี้ยประเสริฐศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีการดำเนินการขายหุ้นสามัญเดิมที่ตนถืออยู่ในบริษัทให้แก่กรรมการอิสระและผู้บริหาร เพื่อสร้างแรงจูงใจหรือเสริมสร้างกำลังใจในการร่วมงานกับบริษัทผ่านการซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานรายใหญ่ (Big-Lot Board) จำนวนเพียง 11 ล้านหุ้น คิดเป็น 1.85% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขาย ในราคา IPO 2.60…
Read MoreSCB แจ้งการเปลี่ยนชื่อหลักทรัพย์ใหม่เป็น SCBB โฮลดิ้งถือหุ้นหลังสวอปหุ้นด้วยการทำคำเสนอซื้อหุ้นใหม่ โดยผู้ถือหุ้นผ่านอนุมัติ 4 เม.ย. 2565 เปลี่ยนชื่อย่อ และเตรียมเข้าทำการซื้อขายแทน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB แจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่อย่อหลักทรัพย์ของตามที่ธนาคารได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทราบว่า บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อจุดประสงค์ในการปรับโครงสร้างการ ถือหุ้น จะทำการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัท พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของธนาคาร โดยการแลกกับหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัท ภายหลังการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารเสร็จสิ้น หลักทรัพย์ของบริษัทจะเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”)แทนหลักทรัพย์ของธนาคาร ซึ่งจะถูกเพิก ถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ธนาคารจะดำเนินการให้บริษัทใช้ชื่อย่อ หลักทรัพย์เดียวกันกับธนาคาร (คือ SCB) ในการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร ครั้งที่ 5/2565ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 4เมษายน 2565 ได้มีมติอนุมัติการเปลี่ยนแปลงชื่อย่อ หลักทรัพย์ของธนาคาร เพื่อรองรับสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทภายหลังจากการทำคำเสนอซื้อ หลักทรัพย์ของธนาคารเสร็จสิ้น ธนาคารจึงขอแจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อย่อหลักทรัพย์ของธนาคาร จาก SCB เป็น SCBB…
Read Moreนายสมพงษ์ ชื่นกิติญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บิสซิเนสอะไลเม้นท์ (BIZ) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมแผนดำเนินการย้ายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทจากตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมอบหมายให้ฝ่ายจัดการดำเนินการยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ทั้งนี้ การย้ายเข้าจดทะเบียนใน SET จะเอื้ออำนวยและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ขยายฐานผู้ถือหุ้นและกองทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาเพิ่มสัดส่วนการลงทุน และเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายหุ้น รวมถึงรองรับการขยายธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 65 บริษัทยังคงเดินหน้าประมูลงานโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทมีโอกาสจะได้รับงานค่อนข้างมากด้วยศักยภาพจากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ปริมาณงานมือเพิ่มขึ้นในระยะยาว สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้ผู้ถือหุ้น ปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) จำนวน 1,160 ล้านบาท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BIZ คาดว่าในปีนี้จะมีงานออกประมูลใหม่ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท และบริษัทมีโอกาสได้งานเพิ่มในหลายโครงการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง อ้างอิง https://m.mgronline.com/stockmarket
Read MoreYouTrip ประเทศไทย ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ต จับมือธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว “YouTrip Perks” ฟีเจอร์ใหม่ มอบดีลพิเศษส่วนลด-เงินคืนสูงสุด 15% เจาะกลุ่มผู้บริโภคขาช็อปออนไลน์-ท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง พร้อมขยายพาร์ตเนอร์ตลอดปีนี้ วันที่ 4 เมษายน 2565 นางสาวจุฑาศรี คูวินิชกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip ประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดตัว YouTrip Perks ซึ่งนับเป็นอีกก้าวที่สำคัญ ช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดค่าใช้จ่ายซื้อของมากยิ่งขึ้นไปอีกอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยความเข้าใจว่าคนไทยนั้นเป็นนักช็อปที่ช่ำชองที่คอยมองดีลพิเศษส่วนลดและเงินคืนที่ดีที่สุด จึงออกแบบ YouTrip Perks มาเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงข้อมูลเพื่อเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายและเฟ้นหาดีลที่ดีที่สุดกับแบรนด์ต่าง ๆ ที่ตรงใจลูกค้า“สำหรับ YouTrip Perks นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น และจะมีดีลส่วนลดรวมถึงเงินคืนจากพาร์ตเนอร์แบรนด์ยอดนิยมอีกมากมายที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง” YouTrip Perks มุ่งเป้าที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคชาวไทยในสองกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มนักช็อปออนไลน์และกลุ่มจองการเดินทาง โดยข้อมูลสถิติของ YouTrip แสดงให้เห็นว่ายอดช็อปออนไลน์ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 250% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ยอดจองที่พักและการเดินทางกับตัวแทนท่องเที่ยวออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นมากกว่า 150%…
Read Moreเปิดเกณฑ์ ห้ามใช้ คริปโตเคอร์เรนซี สินทรัพย์ดิจิทัล ซื้อสินค้า ตามเกณฑ์ที่ ธปท.-ก.ล.ต. กำหนด เริ่มวันนี้ วันที่ 1 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เป็นวันแรก ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกเกณฑ์กำกับการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่สนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าหรือบริการ 6 หลักเกณฑ์คุมคริปโต หลักเกณฑ์การกำกับดูแลในครั้งนี้ระบุว่า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทจะต้องไม่ให้บริการ สนับสนุนหรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล 6 ข้อต่อไปนี้ ไม่โฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ ไม่จัดทำระบบ หรือเครื่องมือในการชำระค่าสินค้าและบริการ ไม่เปิด Wallet เพื่อนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ ไม่ให้บริการโอนเงินบาท ซึ่งเป็นการโอนจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีของบุคคลอื่น ไม่ให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล จากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น ไม่ให้บริการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุน การรับชำระค่าสินค้าและบริการ สำหรับหลักเกณฑ์กำกับการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ประกอบการที่ให้บริการอยู่ก่อนแล้ว พบว่าเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยได้ขยายเวลาจากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้หากลูกค้ามีบัญชีที่เปิดไว้สำหรับซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ในการชำระสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการ…
Read Moreนางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULFแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ว่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 บริษัท กัลฟ์ เอสอาร์ซี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯและเป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (Independent Power Producer: IPP) ได้แก่ โรงไฟฟ้า GSRC ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ หน่วยผลิตที่ 3 กำลังการผลิตติดตั้ง 662.5 เมกะวัตต์ โดยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เป็นที่เรียบร้อยตามกำหนด (โดยหน่วยผลิตที่ 1และ 2 กำลังการผลิตติดตั้งรวม 1,325เมกะวัตต์ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่31 มีนาคม และ 1 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ตามลำดับ) ทั้งนี้โครงการโรงไฟฟ้า GSRC ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้า…
Read Moreทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง มั่นใจผลงานปี 65 เติบโตต่อเนื่อง จากการรับรู้รายได้โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล-ขยะ 11 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 116.3 เมกะวัตต์ เต็มปี ฟาก “กนกทิพย์ จันทร์พลังศรี” ประธานคณะกรรมการบริหารเผยเตรียม COD โครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐชีวมวล แม่ลาน-บันนังสตา ภายในไตรมาส 2/65 หนุนรายได้ปีนี้โต 30-40% นางกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2565 คาดว่ายังมีการเติบโตที่ดี สามารถทยอยรับรู้รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าขยะ รวม 11 แห่ง ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าชีวมวล CRB, MWE, MGP, TSG, PGP,…
Read Moreปลัดคลังเลื่อนเก็บภาษีขายหุ้น หลังเศรษฐกิจไทยรับผลกระทบ “รัสเซีย-ยูเครน” ต้องชะลอออกไปก่อน ด้าน “สรรพากร” เผยไม่กระทบจัดเก็บรายได้ของกรมในปีงบ’65 ชี้มีรายได้จากภาษีอีเซอร์วิส คาดรีดภาษีได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท วันที่ 30 มีนาคม 2565 นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเลื่อนการจัดเก็บภาษีการขายหุ้น (Transaction Financial Tax) ออกไป เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ยังไม่เหมาะสม โดยภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ได้รับผลกระทบทั้งจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และสถานการณ์โควิด ทำให้อาจจำเป็นต้องชะลอการจัดเก็บภาษีตัวนี้ออกไปอีกสักระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดี หากถามถึงความพร้อมในการจัดเก็บภาษีขายหุ้นนั้น กระทรวงการคลังมีความพร้อม ส่วนในประเด็นเรื่องอัตราการจัดเก็บนั้น มองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น บางประเทศเก็บภาษีน้อยกว่าไทยขณะที่บางประเทศก็เก็บภาษีมากกว่า และบางประเทศเก็บภาษีรูปแบบผลกำไรจากส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ (capital gain) ไม่ได้เก็บจากการขาย “เชื่อว่าถ้าในประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีขายหุ้น ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดมากนัก และเข้าใจว่าคนที่อยู่ในตลาดนี้มีรายได้ค่อนข้างสูง และความจริงแล้วกระทรวงการคลัง มีกฎหมายออกมาให้เก็บภาษีตัวนี้ตั้งแต่ปี 2530 แต่เราก็ยกเว้นมาโดยตลอด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยช่วงนั้นมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 7-8 แสนล้านบาท แต่วันนี้มูลค่าตลาดสูงถึง 16 ล้านล้านบาท หรือพอ ๆ กับขนาดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ”…
Read Moreวันที่ 28 มีนาคม 2565 นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ก.ล.ต. ร่วมประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ACMF) ระดับเลขาธิการ ครั้งที่ 36 ซึ่งมีหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ โดยมีผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน ผู้แทนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และสำนักเลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือทิศทางเชิงนโยบายและผลักดันการดำเนินงานของ ACMF ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี นำไปสู่การพัฒนาตลาดทุนที่ยั่งยืน เอื้อให้เกิดการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและช่วยฟื้นฟูจากผลกระทบของ covid-19 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 โดยในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้ร่วมแสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการจัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน (ASEAN Taxonomy) ฉบับที่ 1 โดยคณะทำงาน ASEAN Taxonomy Board ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานภาคการเงินต่างๆ รวมถึงผู้แทนจาก ACMF ด้วย และได้เผยแพร่ ASEAN Taxonomy ฉบับดังกล่าว เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564…
Read Moreนายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) ในงานเสวนา “แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. กับทิศทางเศรษฐกิจและตลาดทุนปี 65” ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 65 คาดว่าจะเติบโตในกรอบ 3.0-3.5% โดยจะได้รับปัจจัยหนุนจากอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก และเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพสูง จึงสามารถเดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงมีความกังวลด้านการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่สามารถอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลงมาก หลังจากที่ในปี 63 มี พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และในปี 64 มี พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท แต่ในปี 65 คงไม่มีเม็ดเงินในลักษณะดังกล่าวออกมาแล้ว และเมื่อดูการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ได้มีการเติบโต และอาจหดตัวด้วยซ้ำ ดังนั้นปีนี้ภาคเอกชนและประชาชนคงต้องสู้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน แม้ขณะนี้ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงที่รุนแรงมากนัก แต่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักเที่ยวรัสเซียเป็นหนึ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแรงกดดันจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องว่าจะมีความยืดเยื้อ หรือรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะชะลอลงในรูปแบบเดียวกับในต่างประเทศหรือไม่ เพราะหากตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาครัฐอาจจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมการระบาดอีกครั้ง…
Read More