ทีดีอาร์ไอห่วงรัฐบาลหมดกระสุนกระตุ้น ศก.ท่ามกลางความเสี่ยงรอบด้านเพิ่มขึ้น

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) ในงานเสวนา “แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. กับทิศทางเศรษฐกิจและตลาดทุนปี 65” ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 65 คาดว่าจะเติบโตในกรอบ 3.0-3.5% โดยจะได้รับปัจจัยหนุนจากอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก และเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพสูง จึงสามารถเดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงมีความกังวลด้านการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่สามารถอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลงมาก หลังจากที่ในปี 63 มี พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และในปี 64 มี พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท แต่ในปี 65 คงไม่มีเม็ดเงินในลักษณะดังกล่าวออกมาแล้ว และเมื่อดูการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ได้มีการเติบโต และอาจหดตัวด้วยซ้ำ ดังนั้นปีนี้ภาคเอกชนและประชาชนคงต้องสู้ด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน แม้ขณะนี้ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงที่รุนแรงมากนัก แต่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักเที่ยวรัสเซียเป็นหนึ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแรงกดดันจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องว่าจะมีความยืดเยื้อ หรือรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน

รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะชะลอลงในรูปแบบเดียวกับในต่างประเทศหรือไม่ เพราะหากตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาครัฐอาจจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมการระบาดอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นผลกระทบที่มาซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมด้วย

อ้างอิง
https://m.mgronline.com/stockmarket

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) ในงานเสวนา “แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. กับทิศทางเศรษฐกิจและตลาดทุนปี 65” ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 65 คาดว่าจะเติบโตในกรอบ 3.0-3.5% โดยจะได้รับปัจจัยหนุนจากอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก และเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพสูง จึงสามารถเดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงมีความกังวลด้านการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่สามารถอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยลงมาก หลังจากที่ในปี 63 มี พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท และในปี 64 มี พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท แต่ในปี 65 คงไม่มีเม็ดเงินในลักษณะดังกล่าวออกมาแล้ว และเมื่อดูการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ได้มีการเติบโต และอาจหดตัวด้วยซ้ำ ดังนั้นปีนี้ภาคเอกชนและประชาชนคงต้องสู้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน แม้ขณะนี้ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงที่รุนแรงมากนัก แต่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักเที่ยวรัสเซียเป็นหนึ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแรงกดดันจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องว่าจะมีความยืดเยื้อ หรือรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน รวมถึงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะชะลอลงในรูปแบบเดียวกับในต่างประเทศหรือไม่ เพราะหากตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาครัฐอาจจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมการระบาดอีกครั้ง…