สรรพากรเสียงอ่อน จ่อปรับฐานจ่ายภาษี ‘คริปโตเคอร์เรนซี’

สรรพากรแจง ภาษีคริปโตมีผลตั้งแต่ปี 61 แต่เพิ่งบูมปี 63 แถมปรับรูปแบบยื่นภาษีออนไลน์ให้ง่ายขึ้น แยกประเภทรายได้ชัดเจน จึงมีแรงวิจารณ์มาก เร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงรูปแบบจะใช้การคำนวณแบบ capital gain หรือจาก Transaction

การจัดเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 แต่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวาง

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ช่วง 2 ปีแรกที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะการลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ในคริปโตเคอร์เรนซีเพิ่งมาบูมเมื่อปีที่แล้ว ประกอบกับปีนี้กรมสรรพากรได้จัดทำโปรแกรมยื่นภาษีทางออนไลน์ใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการกรอกข้อมูลในมาตรา 40(4) จึงได้แยกประเภทรายได้แต่ละอันให้ชัดเจน ซึ่งมีรายการกำไรจากคริปโทแยกออกมาจากเดิมที่ผู้ยื่นภาษีจะต้องกรอกรายละเอียดตรงช่อง “เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ”

“หลังกฎหมายบังคับใช้ มีผู้ทำการกรอกยื่นภาษีในส่วนของรายได้หรือกำไรจากคริปโตบ้างแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ยื่นแบบภาษีมากขึ้น กรมสรรพากรจึงได้ปรับแบบฟอร์มยื่นภาษี โดยมีการระบุชัดเจนในมาตรา 40(4) ว่า “ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใดๆ จากคริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40(4))”นายเอกนิติกล่าว

 

ทั้งนี้เมื่อผู้ยื่นแบบ กดเลือกเข้าไปที่ “ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใดๆ จากคริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40(4))” จะมีช่องระบุ “ประเภทธุรกิจ” โดยมีประเภทธุรกิจให้เลือกชัดเจน คือ “เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือครอบครองโทเคนดิจิทัล” หรือ “ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญของพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 คือ กำหนดให้เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัลและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) และกำหนดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ในอัตรา 15% ของเงินได้

ส่วนการกำหนดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น กรมสรรพากรอยู่ระหว่างหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมถึงภาคเอกชนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงรูปแบบการจัดเก็บภาษีจากคริปโทว่า จะใช้การคำนวณแบบ capital gain หรือจาก Transaction

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา Group CEO ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคัพ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ Bitkub กล่าวว่า ประเทศไทยต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเว็บ 3.0 อีกไม่นานอินเตอร์เน็ตจะเป็น 3D มี Internet of Thing (IoT) เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ทุกอุปกรณ์ต่างๆ จะฉลาดและเชื่อมอินเตอร์เน็ตทั้งหมด จะมีประสบการณ์ระหว่างกัน เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเทคโนโลยีที่ให้บริการอยู่เบื้องหน้า แต่ยังมีเทคโนโลยีที่ลึกกว่าอยู่เบื้องหลัง เช่น บล็อกเชน ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเว็บ 3.0 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 5 ปี ข้างหน้าด้วย

“ประเทศที่เข้าใจ และมีกฎหมายสอดคล้องกับทิศทางของโลก กฎหมายที่รองรับและเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ๆก็จะมีโอกาสมากกว่าในการดึงดูดจะสร้างโอกาสให้เม็ดเงินและคนเก่งๆไหลเข้ามาในประเทศ มายกระดับให้ประเทศนั้นๆ มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น”นายจิรายุสกล่าว

ทั้งนี้สิ่งที่เรากำลังดำเนินการอยู่คือ พัฒนาเว็บ 3.0 พัฒนาให้วงการสินทรัพย์ดิจิทัลเกิดขึ้นมาในประเทศไทยให้ได้ เพื่อดึงเงินเข้าประเทศและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับคนไทย โดยหวังว่า จะพัฒนาวงการดิจิทัลและบล็อกเชนให้เป็นผู้นำในระดับภูมิภาค

 

“กฎหมายต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับโลก มันก็ไม่เมคเซนท์ ที่จะเอากฎของรถม้า มาครอบรถยนต์ มันก็ไม่ใช่ ก็จะต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง” นายจิรายุส กล่าว

 

ส่วนเรื่องของภาษีและหลายๆกฎหมาย ควรจะมีทีมที่มาดูอย่างจริงจัง เพื่อให้กฎหมายสอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่หรือโลกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเกิดขึ้นเร็วมากๆ อดีตสอนเรามาตลอดว่า ประเทศที่มีกฎหมายที่ไม่ตามกับเทคโนโลยีใหม่ก็จะเป็นประเทศที่เสียประโยชน์มหาศาลในระยะยาว หากเราสามารถสร้างเว็บ 3.0 ได้สำเร็จ ในอีก 5 ปีข้างหน้าเราสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีตที่เกิดมาช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

หน้า 1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,749 วันที่ 16 – 19 มกราคม พ.ศ. 2565

สรรพากรแจง ภาษีคริปโตมีผลตั้งแต่ปี 61 แต่เพิ่งบูมปี 63 แถมปรับรูปแบบยื่นภาษีออนไลน์ให้ง่ายขึ้น แยกประเภทรายได้ชัดเจน จึงมีแรงวิจารณ์มาก เร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงรูปแบบจะใช้การคำนวณแบบ capital gain หรือจาก Transaction การจัดเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 แต่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวาง นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ช่วง 2 ปีแรกที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะการลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ในคริปโตเคอร์เรนซีเพิ่งมาบูมเมื่อปีที่แล้ว ประกอบกับปีนี้กรมสรรพากรได้จัดทำโปรแกรมยื่นภาษีทางออนไลน์ใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการกรอกข้อมูลในมาตรา 40(4) จึงได้แยกประเภทรายได้แต่ละอันให้ชัดเจน ซึ่งมีรายการกำไรจากคริปโทแยกออกมาจากเดิมที่ผู้ยื่นภาษีจะต้องกรอกรายละเอียดตรงช่อง “เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ” “หลังกฎหมายบังคับใช้ มีผู้ทำการกรอกยื่นภาษีในส่วนของรายได้หรือกำไรจากคริปโตบ้างแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ยื่นแบบภาษีมากขึ้น กรมสรรพากรจึงได้ปรับแบบฟอร์มยื่นภาษี โดยมีการระบุชัดเจนในมาตรา 40(4) ว่า “ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใดๆ จากคริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน…